วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จัดการกับไข้หวัด

ลองด้วยตัวเอง เมื่อคุณเริ่มจะเป็นหวัด  สองสิ่งที่คุณแทบจะไม่ได้นึกถึง คือการหัวเราะดังๆ กับการทำตัวหวานชื่นกับคู่รัก คุณเชื่อไหมว่าสองวิธีดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้คุณหายเร็วขึ้น

การหัวเราะ ช่วยลดฮอร์โมนเครียดในกระแสเลือด ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ประสิทธิภาพในการค้นหาและทำลายเชื้อโรคของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันกับโรคลดลง การกอด มีผลดีกับระบบภูมิคุ้มกันโรคเพราะจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนออกซิโตซิน ฮอร์โมนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความรักและยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความผูกพันระหว่างมารดากับทารก ทารกในสัปดาห์แรกหากได้รับการกอดหรือสัมผัสร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายจะสร้างออกซิโตซิสได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจมีผลทำให้ทารกเติบโตช้าลง ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock)

นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ทำหน้าที่กำหนดจังหวะการทำงาน
ของร่างกายครบรอบ
หนึ่งวัน 24 ชม.
นักวิทยาศาสตร์เรียกจังหวะที่มี
รอบการทำงาน
24 ชม. ว่า
จังหวะเชอร์คาเดียน (Circadian rhythm
)
มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน
 Cirda dies แปลว่า ประมาณหนึ่งวัน 

จังหวะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการทำงานของร่างกาย
ไม่เพียง
การหลับตื่น 
แต่รวมไปถึงการหลั่งฮอร์โมน การเผาผลาญพลังงาน
การควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย เป็นต้น

นาฬิกาชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำงาน โดยอาศัยการควบคุมระดับโปรตีนชนิดต่างๆ ให้มีจังหวะขึ้นลงตามช่วงของวัน เช่น การรับประทานอาหาร  การออกกำลังกาย
การใช้ยาต่างๆ การพักผ่อน การทำงาน ดังนั้นนาฬิกาชีวภาพจึงมีบทบาทสำคัญ
ในการกำหนดจังหวะของพฤติกรรมต่างๆ ของร่างกายที่ใช้สมองและแรงกาย

ในทางการแพทย์ตะวันออก นาฬิกาชีวภาพทั้งกลางวันและกลางคืน
มีความ
สำคัญกับสุขภาพมนุษย์ ชั่วเวลา 24 ชั่วโมงนี้ พลังชีวิตจะไหลเวียน
ผ่านอวัยวะภายในแต่ละส่วน
ใช้เวลา ชั่วโมง

การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมประจำวันควรสอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพจึงจะเกิดความสมดุล มีสุขภาพดี อายุยืน และปราศจากโรค 
โดยแบ่งช่วงเวลาดังนี้ …..

01.00 - 03.00 .  เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อน
ผู้ที่หลับได้ดีเป็นประจำในช่วงนี้ตับจะหลั่งสารมีราโทนินเพื่อฆ่าเชื้อโรค 
ใบหน้าจะอ่อนกว่าวัยในช่วงเวลานี้ ไม่ควรรับประทานอาหาร เพราะตับจะทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ  ขจัดสารพิษในร่างกาย
03.00 - 05.00.  เป็นช่วงเวลาของปอด ควรตื่นนอนเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ รับแสงแดดยามเช้า ผู้ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำผิวพรรณจะดีขึ้น


05.00 - 07.00.  เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระเป็นนิสัยทุกเช้า
ถ้าไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น  2 แก้ว ถ้ายังไม่ได้ผลให้เพิ่มการบริหารโดยยืนตรง
หายใจเข้าลึกๆ
แล้วก้มลงพร้อมหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้อง
จนเหมือนหน้าท้องติดสันหลัง
หรืออีก
วิธีหนึ่งขณะนั่งโถส้วม
ใช้ฝ่ามือนวดหน้าท้อง วนตามเข็มนาฬิกาหลายๆรอบพร้อมแขม่วท้อง



07.00 - 09.00 .  เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ถ้ารับประทานอาหารช่วงนี้
เป็นประจำ
กระเพาะอาหารจะแข็งแรง  แต่ถ้าอาหารเช้าดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียว
ร่างกายจะดูดกากอาหาร
ตกค้างที่กำลังจะกลายเป็นอุจจาระกลับขึ้นมาใหม่เท่ากับ  "ดื่มกาแฟผสมอุจจาระ" ดังนั้นถ้าเร่งรีบอย่างน้อยขอให้มีโยเกิร์ตหรือนมสด หรือน้ำเต้าหู้+น้ำมะนาว ก็จะได้สารอาหารพอเพียงในมื้อเช้า


09.00 - 11.00 .  เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามอยู่ที่ชายโครงด้านซ้ายมีหน้าที่
ควบคุมเม็ดเลือด 
และไขมัน ผู้ที่งีบหลับในช่วงนี้ม้ามมักจะอ่อนแอชื้น อาหารและน้ำจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย ผู้ซึ่งเป็นเบาหวาน
มักจะง่วงเพราะเป็นเวลาหลังมื้ออาหารเช้า



11.00 - 13.00 .   เป็นช่วงเวลาการทำงานของหัวใจ  จึงควรหลีกเลี่ยง
การเพิ่มความเครียด 
ระงับความตื่นเต้นตกใจให้ได้


13.00 - 15.00 . เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร
เช่น วิตามินบี ซี โปรตีน เพื่อสร้างกรดอมิโนสร้างเสริมเซลล์ซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ



15.00 - 17.00 .  เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ  การขับถ่ายปัสสาวะ  ขับเหงื่อ  ช่วงเวลานี้ควรออกกำลังกาย   ผู้มีเบาหวานควรออกกำลังในระหว่างเวลานี้
ก่อนฉีดยาอินสุลินมื้อเย็น



17.00 - 19.00 . เป็นช่วงเวลาของไต ควรทำใจให้สดชื่นไม่ง่วงเหงาหาวนอน เชื่อว่าไตซ้ายคุมสมองด้านขวาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรี รักสวยรักงาม ส่วนไตขวาคุมสมองด้านซ้ายเกี่ยวกับความจำ


19.00 - 21.00 . เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ควรสวดมนต์ทำสมาธิ ปัญหาที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจคือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นเลือดหัวใจตีบ


21.00 - 23.00 . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ควรอาบน้ำเย็นจัดอาจเจ็บป่วยง่าย



23.00 - 01.00 . เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี น้ำดีเป็นน้ำย่อยจากตับ ถ้าร่างกายขาดน้ำ และดึงน้ำจากถุงน้ำดีไป ทำให้น้ำดีเข้มข้น
เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เป็นภูมิแพ้อากาศ


ถ้าเรานำความรู้เรื่องนาฬิกาชีวภาพมาใช้ได้ถูกต้องแล้ว การมีสุขภาพดีปราศจากโรคภัย จึงเป็นของขวัญอันประเสริฐแก่ชีวิต



อ้างอิง นาฬิกาชีวภาพในร่างกายมนุษย์ Health Today October,2005 p.74-75 . มาณีย์ อุ้ยเจริญพงษ์ อาหารเพื่อสุขภาพ การพยาบาล รพ. จุฬา 2547
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต (Biological clock) เอกสารพิมพ์เผยแพร่ มปพ.

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ เวบบล็อก ของคนรักสุขภาพ
ฝ่ายการพยาบาล โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์